หนุ่มวิศวะผันตัวเป็นเกษตรกร คิดค้นสร้าง Smart Farm แห่งแรกในเมืองหาดใหญ่
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับ Smart Farm อันเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกร และผู้ประกอบการใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและพัฒนาภาคเกษตรให้ยั่งยืนในอนาคต โดย สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) เป็นรูปแบบการทำเกษตรแบบใหม่ที่จะทำให้การทำไร่ทำนามีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยการนำข้อมูลของภูมิอากาศทั้งในระดับพื้นที่ย่อย (Microclimate) ระดับไร่ (Mesoclimate) และระดับมหภาค (Macroclimate) มาใช้ในการบริหารจัดการ ดูแลพื้นที่เพาะปลูก เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพอากาศที่เกิดขึ้น รวมถึงการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพอากาศที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต โดยได้รับการขนานนามว่า เกษตรกรรมความแม่นยำสูง หรือ เกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture) ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และเริ่มแพร่หลายไปในหลายประเทศ ทั้งยุโรป ญี่ปุน มาเลเซีย และอินเดีย
ตอนนี้เมืองหาดใหญ่ก็ได้เริ่มนำนวัตกรรมลักษณะนี้ มาใช้ในการจัดการฟาร์มผลไม้แล้ว โดย "พี่เป็ด" ไพรวัลย์ สิริทรัพย์นพคุณ วิศวกรที่ผันตัวจากพนักงานบริษัทเอกชนสู่เกษตรกรตัวอย่าง พร้อมทั้งคิดค้นระบบ สมาร์ทฟาร์ม ด้วยตัวเอง ซึ่งถือได้ว่าเป็นฟาร์มแห่งแรกของเมืองหาดใหญ่ ปัจจุบันกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งในหาดใหญ่
คุณไพรวัลย์ สิริทรัพย์นพคุณ (พี่เป็ด) อดีตหนุ่มวิศวกรบริษัทเอกชน ทำงานเกี่ยวกับโทรคมนาคม ได้เล่าให้ ทีมงานหาดใหญ่โฟกัส ฟังเกี่ยวกับสมาร์ทฟาร์มแห่งแรกของหาดใหญ่
- เมื่อก่อนทำงานเกี่ยวกับโทรคมนาคมมากว่า 20 กว่าปี ดูแลโปรเจคสร้างและบำรุงรักษาเครือข่าย จนมีความคิดที่ว่าอยากหาอาชีพเสริม ความฝันแต่เด็กอยากเป็นเกษตรกร จึงคิดว่าจะปลูกอะไรดี โชคดีที่ครอบครัวชอบกินผลไม้ จึงนึกจะปลูกเมล่อน ผลไม้เศรษบกิจ อีกทั้งเมล่อนยังไม่ได้แพร่หลายมากในภาคใต้ เริ่มต้นจากการศึกษาผ่านอินเตอร์เน็ต โดยพบว่าเมล่อนต้องใช้การดูแลที่สูง ต้องใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการจัดการ ซึ่งเข้ากับความถนัดของตัว
- เริ่มต้นจาการเขียนแปลน (Layout) บนกระดาษ ระหว่างนั้นก็ทดลองปลูกเมล่อนแบบธรรมดาๆ ไปด้วย ผลปรากฏว่าผลผลิตไม่ตรงตามเป้า ปลูกแล้วตาย หลังจากนั้นก็ตั้งใจที่จะทำจริงจังแล้ว โชคดีที่มีโอกาสได้อยู่ในกลุ่มคนรักเมล่อน ได้รู้จักน้องคนนึงซึ่งสนับสนุนการให้ความรู้เรื่องพืช มีโอกาสพูดคุยกับน้องเขา เกี่ยวกับการปลูกเมล่อนด้วย Smart Farm การให้น้ำและให้ปุ๋ยสามารถกำหนดจัดการได้หมด สามารถ Set ค่าต่างๆได้ด้วยระบบอัตโนมัติ โดยที่คนไม่ต้องไปยุ่ง ตั้งแต่กระบวนการผสมปุ๋ย ให้น้ำ ให้ปุ๋ย และสามารถกำหนดเวลาการจ่ายน้ำจ่ายปุ๋ยได้อีกด้วย ซึ่งจะช่วยลดแรงงาน และลดต้นทุนบางตัวออกไป แตกต่างจากฟาร์มทั่วๆ ไป เพราะฟาร์มอื่นต้องใช้แรงงานคนผสมปุ๋ยทุกๆวัน วันละปริมาณมากๆ ซึ่งเสียเวลาและเสียแรง อีกทั้งการปลูกผลไม้ที่ไม่ได้อยู่ในฤดูกาล ก็สามารถกระทำได้ หากเราใช้สมาร์ทฟาร์มในการจัดการ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของเรามีราคาที่สูง
ระบบ Smart Farm ควบคุมการจ่ายน้ำและจ่ายปุ๋ย ในแต่ละโรงเรือน
- หลังจากพูดคุยกันเรื่องแนวความคิด Smart Farm ก็ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมฟาร์มเมล่อนแห่งแรกของสงขลา ต่อจากนั้นก็ได้ไปพบอาจาร์คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาจารย์ก็ได้ชื่นชมว่าเป็นแนวคิดที่ดี เนื่องจากต่างประเทศที่ปลูกพืชสวยงาม ผลไม้เมืองหนาว ต่างก็ใช้เทคโนโลยีลักษณะนี้มาจัดการ อาจารย์บอกให้เริ่มลงมือทำได้เลย
- เราก็เริ่มหาที่หาทางที่ใกล้บ้าน จึงเจอพื้นที่บริเวณนี้ เราก็เริ่มทำเริ่มสร้างระบบเทคโนโลยี Smart Farm เริ่มสร้างโรงเรือน อาจารย์ก็เริ่มสนใจและเข้ามาดู และให้สูตรปุ๋ยมา เพื่อให้เราไปปรับแต่งเอาเอง โดยการลองปรับกับตัวพืืชจริงๆ ปรับแต่งอยู่นานหลายเดือน จนได้สูตรที่สมบูรณ์ เมื่อเริ่มออกดอกออกผล ถือว่าประสบความสำเร็จได้ดี ผลใหญ่ (2-3 กิโลกรัม) ต้นสมบูรณ์ดี ทางอาจารย์ ม.อ. มาดูแล้วบอกว่ามันเข้าท่า สำหรับเกษตรรูปแบบใหม่ ทางเราจึงเริ่มขยายโรงเรือนเพิ่มเป็น 2 หลัง แรกๆ ก็ทำการขายเมล่อนผ่าน Facebook ผ่าน FanPage "ไพรวัลย์ ฟาร์ม" มีการเล่าถึง Story ตั้งแต่เริ่มต้น จนผู้คนเริ่มสนใจจึงมีหน่วยงานต่างๆ เดินทางมาดูงานเรื่อยๆ ทั้งเด็กนักเรียนไปจนถึงผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ใหญ่วัยเกษียณ ที่ต้องการให้เราแนะแนวทางให้
- ตอนเริ่มทำฟาร์มในช่วงปีที่สอง ถึงเวลาที่เราต้องตัดสินใจระหว่าง ครอบครัว ฟาร์ม และงานประจำ ตัดสินใจอยู่หลายเดือน จึงตัดสินใจเลือกฟาร์มและครอบครัวเป็นหลัก เนื่องจากมองว่าเป็นสิ่งที่เรารักจริงอยากทำจริง การทำฟาร์มก็ต้องการความเอาใจใส่และการดูแล อีกทั้งฟาร์มยังเป็นสถานที่พบปะกันในครอบครัว กลุ่มเกษตรกรเมื่อเห็นว่าเรามาเป็นเกษตรกรเต็มตัว จึงเริ่มสนับสนุนโดยการหาลูกค้าให้ หาตลาดให้ ช่วยโปรโมทประชาสัมพันธ์ให้
- ต่อมาจึงเริ่มปลูกผักสลัด (ไฮโดรโพลิกซ์) และมะเขือเทศเชอร์รี่ มาเสริมระหว่างรอเมล่อนเติบโต ซึ่งใช้เวลา 2-3 เดือน ซึ่งผลผลิตก็ค่อนข้างดี ได้ผลผลิตอาทิตย์ละหลายร้อยกิโลกรัม
- เมล่อนที่นี่คือ "เมล่อน พันธุ์คิโมจิ" เมล่อนขึ้นชื่อจากประเทศญี่ปุ่น มีเอกลักษณ์คือลายนูนที่โผล่ขึ้นมา กลิ่นหอม หวานอร่อย โดยพัฒนาสายพันธุ์มาจากผลไม้ตระกูลแคนตาลูป ฟาร์มแห่งนี้ได้ลิขสิทธิ์มาจากประเทศญี่ปุ่นโดยตรง ซึ่งทางฟาร์มจะมีการคัดเกรดเมล่อนอย่างดี ผ่านการตรวจสอบความหวานและความหอม ผ่านเครื่องวัดมาตรฐาน รวมทั้งดูแลเกี่ยวกับขนาดอย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่จะขายส่งตามร้านอาหารญี่ปุ่น แต่ที่หน้าฟาร์มก็จะมีการขายเมล่อนให้ทุกท่านที่มาเยี่ยมชมฟาร์มด้วย
หากใครสนใจเกี่ยวกับ สมาร์ทฟาร์มและเมล่อนคิโมจิ ลองมาเยี่ยมเยือน "ไพรวัลย์ ฟาร์ม" คุณจะได้รับความรู้ความเข้าใจจากพี่เป็ดอย่างครบถ้วนกระบวนความ "ไพรวัลย์ ฟาร์ม" ตั้งอยู่บริเวณหลังศูนย์โตโยต้าลพบุรีราเมศวร์ ซอย 3 ชลประทาน หรือ ซอยครัวต้นยอ ถนนชลประทาน อำเภอหาดใหญ่ 90110 โทร: 0611737776 (พี่เป็ด)
"เกียว"เบเกอรี่จากรุ่นแม่สู่คุณลูก กว่า 30 ปี ร้านขนมปังเล็กๆที่ไม่ธรรมดาในสะเดา
8 ธันวาคม 2567 | 436ช่างนวล ควนเนียง ศิลปินผู้รังสรรค์ผลงานบนผืนหนัง
24 พฤศจิกายน 2567 | 608"ป้าบ่วย" เจ้าของร้านฮับเซ่ง สภากาแฟที่ตั้งอยู่คู่เมืองเก่าสงขลาร่วม 100 ปี
25 ตุลาคม 2567 | 2,386"หมี ศุภวิชญ์" ทายาทรุ่นที่ 4 ไอติมบันหลีเฮงสงขลา ส่งตรงจากรุ่นอากงอาม่ากว่า 100 ปี
15 ตุลาคม 2567 | 2,800"โกหล่าย" ทายาทรุ่นที่ 2 ร้านตัดผมสมบูรณ์เกษาหาดใหญ่
21 สิงหาคม 2567 | 1,344ดอกผลของความเพียร สู่ทุเรียนสองฝนสวนบังบา สวนแรกเริ่มจัดงานบุฟเฟต์ทุเรียน(เขาพระ)
18 สิงหาคม 2567 | 1,004ป้าแอด หญิงแกร่งแห่งอำเภอรัตภูมิ ยึดอาชีพทำนาจนเกิดเป็นแบรนด์ข้าวสังข์หยด สบายแสนคูหาใต้
23 มิถุนายน 2567 | 1,438"ลุงแจ้ว"สามล้อถีบรุ่นสุดท้ายแห่งเมืองสงขลา ขี่สามล้อถีบมากว่า 59 ปีกับอาชีพที่รักและมีความสุข
13 มิถุนายน 2567 | 1,778